ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1.ยุทธศาสตร์การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
     1.1 ประสานและบริหารการจัดการน้ำ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อปี
2538 เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาอุทกภัยอย่างเป็นระบบ
     1.2 พัฒนาขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภค
และบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง
     1.3 พัฒนาชุมชนและสังคมตามแนวทางปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียง


2.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการศึกษา
     2.1 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
     2.2 พัฒนาและเตรียมบุคลากรด้านการศึกษา(ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ) ให้เป็นผู้มีคุณภาพมีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากล รองรับประชาคมอาเซียน
     2.3 สนับสนุนให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือและประกอบการศึกษา เป็นเครื่องมือของชุมชนและประชาชนทั่วไป
     2.4 สนับสนุนศูนย์คอมพิวเตอร์ระดับชุมชนเพื่อเพิ่มทักษะประชาชนในชุมชน สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนทุกหมู่ทุกระดับให้เตรียมพร้อมและตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในทุกด้าน
     2.5 ส่งเสริมการศึกษาในระดับ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย


3.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการเกษตร
     3.1 พัฒนา ปรับปรุงพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรม เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆที่มีคุณภาพสูงขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยขอความร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
     3.2 ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงผลิตผลให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานสากลโดยการร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
     3.3 สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเพื่อเกษตรกรในหมู่บ้าน(อกม.)หารูปแบบใหม่ๆ ปรับปรุงรูปแบบเก่าให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
     3.4 ส่งเสริมสนับสนุนการถนอมและแปรรูปสินค้าทางการเกษตรอย่างคุณภาพนำเครื่องจักร และเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและปริมาณสินค้าคุณภาพในท้องถิ่นส่งเสริมการกระจายสินค้าไปสู่ทั้งภายในและต่างประเทศโดยการร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
     3.5 สนับสนุนการทำการเกษตรทางเลือก เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยขอความร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
     3.6 ส่งเสริมประชาชนในท้องถิ่นให้มีการเลี้ยงสัตว์ เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภค เพื่อจำหน่ายและเพื่อการอนุรักษ์ โดยขอความร่วมมือและ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน


4.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคม
     4.1 ส่งแสริมและพัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชนคณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเป็นผู้นำการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นที่มีคุณภาพ
     4.2 ส่งเสริมโครงการพัฒนาระดับหมู่บ้าน ให้พึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีฐานะดีขึ้น มีสาธารณูปโภคที่ดีและเข้าถึงทุกชุมชน
     4.3 ส่งเสริม พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและดำเนินการให้เกิดกองทุน หรือจัดหางบประมาณเพื่อดำเนินการพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง รวมตลอดถึงการพัฒนาให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพที่เหมาะสม เพื่อพึ่งตนเอง เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ทัดเทียมกับบุคคลทั่วไป
     4.4 สนับสนุนพัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของแรงงานในท้องถิ่น เพื่อเตรียมยกระดับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
     4.5 ดำเนินการสนับสนุน และประสานรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับเพื่อป้องกันและให้มีการปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเสพ การผลิตและจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ
     4.6 ดำเนินการโครงการ เพื่อให้บริการประชาชนและรับปัญหา อุปสรรค และความต้องการของประชาชนในพื้นที่


5.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสาธารณสุข
     5.1 สนับสนุนการจัดตั้งกองทุน และเพิ่มสวัสดิการเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน(อสม.)
     5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้การรักษาพยาบาลประชาชนในระดับตำบล หมู่บ้านและชุมชนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี ทั่วถึง และทันเหตุการณ์ โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
     5.3 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในระดับหมู่บ้านและชุมชน ให้มีสุขภาพแข็งแรงโดยให้การเรียนรู้การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การป้องกันโรค การใช้ยาอย่างถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือการรับบริการด้านสาธารณสุขตามขั้นตอนและวิธีการทางการแพทย์


6.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
     6.1 ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึงให้สามารถตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะเส้นทางการขนส่งผลผลิตทางเกษตร แหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน
    6.2 ประสาน สนับสนุน ร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆเพื่อสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักรกล ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญในการก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม
    6.3 ประสานในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านสาธารณูปโภค และส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจในการใช้และรักษาสาธารณูปโภคอย่างคุ้มค่า


7.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา-วัฒนธรรมประเพณี และกีฬา
    7.1 พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่นโคราชเพื่อการอนุรักษ์สืบสานต่อและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว
     7.2 พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเดิม สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ รวมทั้งกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
     7.3 สนับสนุนและส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ โดยการจับคู่ธุรกิจพัฒนาคุณภาพสินค้าแขยายตลาดสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
     7.4 ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาประเภทต่างๆตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับจังหวัด รวมถึงการสร้างความเป็นเลิศทางด้านกีฬาอาชีพในระดับชาติและนานาชาติ


8.ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
     8.1 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน เพื่อให้รองรับการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามที่กฏหมายกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนคติในด้านต่างๆกับองค์ปกครองท้องถิ่นในประชาคมอาเซียนและของประเทศต่างๆในโลก
     8.2 นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร เพื่อให้บริการกับประชาชนให้สะดวกรวดเร็ว แม่นยำ โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชน ผู้รับบริการเป็นสำคัญ
     8.3 สนับสนุนบุคลากรในสังกัด ให้ได้รับการศึกษาอบรม การทำวิจัย เพิ่มพูนความรู้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ การทำงานให้เกิดประสิทธิผลในการบริการประชาชน และในการสื่อสารและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน
     8.4 บูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา
     8.5 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และความต้องการของประชาชนในการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา

9.ยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
     9.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบเตือนภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติต่างๆ
     9.2 ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการหน่วยงาน มูลนิธิการกุศลและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
     9.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดในเขตชุมชน และสถานที่สำคัญ เพื่อสร้างความอบอุ่นใจและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
     9.4 สนับสนุนการฝึกอบรมจัดตั้งและอบรมฟื้นฟูตำรวจบ้าน และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐและดูแลรักษาความปลอดภัยและการจราจรในชุมชนหมู่บ้าน

10.ยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
     10.1 ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ในการพัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลองและป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์
     10.2 ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ในการรณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ
     10.3 ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำระบบกำจัดขยะรวม เพื่อจัดการขยะมูลฝอยละสิ่งปฏิกูลอย่างระบบ